เมนู

อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ 2



ใน

ผัคคุนสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงให้เทศนาจบลงในที่นี้นั่นเอง. เพราะเหตุไร. เพราะผู้มีทิฏฐินั่งอยู่
แล้ว. จริงอยู่ พระโมลิยผัคคุนภิกษุ ซึ่งมีทิฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้นแล้ว
ต่อนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า โมลิยผัคคุนภิกษุนี้ จักลุกขึ้นถามปัญหา
เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักแก้ปัญหาให้เธอ แล้วให้เทศนาจบลง
เพื่อให้โอกาสเธอได้ถาม. มวยผม ท่านเรียกว่า โมลี ในคำว่า
โมลิยผคฺคุโน นี้. สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
พระสักยมุนี ทรงตัดพระเมาลีที่อบด้วยน้ำหอม
อย่างดี แล้วทรงเหวี่ยงไปในอากาศ ท้าววาสวะผู้
สหัสสเนตรที่เอาผอบทองคำอย่างประเสริฐ รับไว้ด้วย
เศียรเกล้า.

ในสมัยที่ท่านเป็นคฤหันถ์ เมาลี (มวยผม) ของท่านใหญ่มาก
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเกิดมีชื่อเรียกว่า โมลิยผัคคุนะ. แม้ท่านจะบวช
แล้ว คนก็ยังรู้จักตามชื่อนั้นนั่นแหละ. บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ ท่าน
เมื่อจะสืบต่อเทศนานุสนธิ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอนำวิญญาณาหารมา. พึงทราบเนื้อความแห่ง
คำนั้นดังต่อไปนี้ :- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ที่กินหรือบริโภควิญญาณา-
หารนั้นคือใคร.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร. พระโมลิยะนี้จึงไม่ถามถึงอาหาร 3
นอกจากนี้ ถามแต่เพียงวิญญาณาหารนี้อย่างเดียว.


.

ตอบว่า เพราะเธอมีลัทธิความเห็นว่า ตัวเองรู้. จริงอยู่ เธอเห็น
แต่คนที่ทำคำข้าวใหญ่ ๆ แล้วบริโภคอาหารเป็นคำ ๆ เพราะเหตุนั้น
เธอจึงมีลัทธิความเห็นว่า ตัวเองรู้. ก็เธอเห็นแต่นกคุ่ม นกกระทา
นกยูงและไก่เป็นต้นเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยมาตุสัมผัส จึงมีความเห็นว่า สัตว์
เหล่านั้นเลี้ยงชีวิตด้วยมาตุสัมผัส. ส่วนเต่าขึ้นจากทะเลในอุตุสมัยของตน
แล้วางไข่ที่หลุมทรายริมฝั่งทะเลแล้วเอาทรายกลบ จึงลงไปสู่ทะเล
ตามเดิม. ไข่เหล่านั้นไม่เสีย (ไม่เน่า ) ด้วยอำนาจระลึกถึงแม่. เธอมี
ลัทธิความเห็นว่า ไข่เหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้ด้วยมโนสัญเจตนาหาร. แม้
พระเถระมีความเห็นอย่างนั้นก็จริง ถึงกระนั้นท่านก็หาถามปัญหานี้ตาม
ความเห็นนั้นไม่. เพราะท่านถือทิฏฐิเป็นเสมือนคนบ้า. คนบ้าถือกระเช้า
ข้ามระหว่างถนนก็เก็บเอาโคมัยบ้าง ก้อนหินบ้าง คูถบ้าง ท่อนเชือก
บ้าง สิ่งของนั้น ๆ ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ก็เก็บใส่ลงในกระเช้า
ฉันใด พระเถระผู้ถือทิฏฐินี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถามปัญหาที่ควรบ้าง
ไม่ควรบ้าง. เธอก็ไม่ถูกข่มว่า ทำไมถึงถามปัญหาอย่างนี้ แต่ทรงปลุก
ให้รู้ถึงการถือในที่ถามแล้วถามอีก. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงไม่ตรัส เพราะเหตุไร เธอจึงถามอย่างนี้ กลับตรัสว่า โน กลฺโล
ปญฺโห (ปัญหาไม่เหมาะ) เพื่อจะเปลื้องเธอให้พ้นจากการถือที่เธอถือ
อยู่ก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน กลฺโล ได้แก่ไม่สมควร.
ข้อว่า อาหาเรตีติ อหํ น วทามิ ได้แก่เราไม่บอกว่า สัตว์หรือ
บุคคลใด ๆ นำอาหารมา. บทว่า อาหาเรตีติ จาหํ วเทยฺยํ ไขความ
ได้ว่า ยทิ อหํ อาหาเรตีติ วเทยฺยํ ผิว่า เราจะพึงบอกว่า นำมาไซร้.

บทว่า ตตฺรสฺส กลฺโล ปญฺโห ได้แก่เมื่อเราพูดอย่างนี้ ปัญหานี้ก็
จะเหมาะสม. บทว่า กิสฺส นุ โข ภนฺเต วิญฺญาณาหาโร ได้แก่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณาหารนี้ เป็นปัจจัยของธรรมข้อไหน.
บทว่า ตตฺถ กลฺลํ เวยฺยากรณํ ได้แก่เมื่อปัญหาถูกถามอย่างนี้
ไวยากรณ์นี้ก็ย่อมเหมาะ วิญญาญาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่ความบังเกิดในภพ
ใหม่ต่อไป. คำว่า วิญฺญาณาหาโร ได้แก่ปฏิสนธิจิต. บทว่า อายตึ
ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ
ได้เเก่นามรูปที่เกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้นนั่นเอง.
บทว่า ตสฺมึ ภูเต สตึ สฬายตนํ ได้แก่เมื่อนามรูป กล่าวคือ
ความบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปนี้ เกิดมีอยู่ สฬายตนะก็ย่อมมี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้โอกาสเธอได้ถามปัญหาสูงยิ่งขึ้น
จึงให้เทศนาจบลง แม้ในคำนี้ว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส. เพราะเธอ
ถือทิฏฐิ จึงไม่อาจจะให้ปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้น แต่ถือเอาข้อที่ตกลงกันได้
เท่านั้นถาม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ประทานโอกาสแก่
เธอ แต่เนื้อความในทุก ๆ บท ก็พึงถือเอาตามนัยกล่าวมานั่นแล.
เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ทูลถามว่า ใครเล่ามีอยู่ พระเจ้าข้า. เพราะเธอถือ
ทิฏฐิจึงมีความเห็นว่า ขึ้นชื่อว่า สัตว์เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว เพราะ
เหตุนั้น เธอจึงได้ทูลถามว่า นี้ผิดจากความเห็นของตน. อีกอย่างหนึ่ง
เธอชื่อว่า เข้าถึงสัญญัตติ เพราะกล่าวไว้ในที่มากแห่งว่า อิทปฺปฺจจยา
อิทํ อิทปฺปจฺจยา อิทํ
เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี แม้เพราะเหตุ
นั้น เธอจึงไม่ทูลถาม. แม้พระศาสดาก็ทรงดำริว่า ภิกษุนี้ แม้จะถาม
อย่างมากมาย ก็หาอิ่มไม่ ก็ยังถามปัญหาที่ไร้สาระอยู่นั่นเอง แต่นั้น
ก็ทรงแสดงเทศนาให้ต่อเนื่องกันไป. บทว่า ฉนฺนํ เตฺวว ได้แก่

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงถือเอาเวลาที่เทศนาถูกยกขึ้นแสดง ก็ทรง
เปิดเผยเทศนาตรัสอย่างนั้น. ก็ในพระสูตรนี้มีสนธิ 3 อย่าง โดยย่อดังนี้
คือระหว่างวิญญาณกับนามรูปจัดเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างเวทนากับตัณหา
เป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิอันหนึ่ง.
จบอรรถกถาผัคคุนสูตรที่ 2

3. ปฐมสมณพราหมสูตร



ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะและพราหมณ์



[38] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับ
แห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
ไม่รู้จักชาติ. . .ไม่รู้จักภพ. . .ไม่รู้จักอุปาทาน. . . ไม่รู้จักตัณหา. . .ไม่รู้จัก
เวทนา. . . ไม่รู้จักผัสสะ. . .ไม่รู้จักสฬายตนะ. . . ไม่รู้จักนามรูป. . . ไม่รู้จัก
วิญญาณ. . . ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับ
แห่งสังขาร ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นจะสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์หาได้ไม่ แลท่านเหล่านั้นมิได้กระทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.